สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ในเครือสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์

                             ABOUT US  |  EVENTS  |  NEWS  |  ALUMNI BOARD  |  WEBBOARD  |  CONTACT US

 

         

                                              Diarrhea    

                                                                      ตอนที่ 1

                                                                                                          น.พ. สุวัฒน์ สุวรรณวานิช

Diarrhea ของคนท่องเที่ยว      

มาพูดถึงเรื่องของการท่องเที่ยวดีกว่า ถ้าไปไทยหรือประเทศแถบเอเชียทุกคนจะต้องถือขวดน้ำติดตัวไปด้วย จะไม่กินน้ำจากที่อื่น กลัวท้องเสีย แต่ยังไง ๆ ก็ไม่พ้นจากโรคท้องเสีย และอาจจะมีอาเจียนร่วมด้วยจนได้ ถ้าไปเมืองไทยเที่ยวไหนผมไม่ท้องเสีย ผมจะแปลกใจว่ารอดมาได้อย่างไร หรืออาจจะแปลว่าเที่ยวนั้นผมคงเที่ยวแบบอด ๆ อยาก ๆ หรือป่วยจนไม่มีท้องจะให้เสียอีกแล้ว

ท้องเสียและคลื่นไส้อาเจียนไม่จำเป็นจะต้องเกิดจากเชื้อโรค 1. เกิดจากความเหนื่อยอ่อน เมื่อยล้าของการเดินทาง บางครั้งเนื่องจากขาดน้ำด้วย ทำให้ตื่นเต้น หรือเบื่อหน่าย อารมณ์หงุดหงิด ก็อาจท้องไส้ปั่นป่วนได้ด้วย 2. Jet Lag เกิดจากร่างกายไม่ทันจะปรับเปลี่ยนเวลาโดยเฉพาะต้องข้ามเส้นเปลี่ยนเวลามากมาย เช่นไปเมืองไทย จากเวลาที่เราอยู่เคยกลางวันเปลี่ยนเวลากลางคืน ทำให้ฮอร์โมนบางอย่างปรับเปลี่ยนไม่ทัน ความร้อนเย็น ความดัน ลำไส้ก็พลอยปั่นป่วนไปด้วย ส่วนมากจะท้องผูก แต่ก็มีอาการท้องเสียปะปนไป 3. ไม่ถูกกับอาหาร หรืออาหารจำพวกเผ็ดหรือรสจัด พวกสับปะรด มะละกอ พวกหมักดองที่มีกรดหรือด่างอยู่ด้วย แม้คนแพ้กระทั่งผงชูรส บางคนแพ้พวกนมเนย เรียกว่า Lactose Intolerance อาหารบางอย่างที่ดูแล้วมันๆ Creamy ถ้าคนแพ้กินเข้าก็อาจท้องเดินได้ Tropical Sprue ท้องเดินพวกนี้เกิดจากกินอาหารที่ทำจาก แป้งหมี่ Wheat สารี Rye ข้าวชนิดที่ทำเหล้าวิสกี้ได้ เม็ดเดือย Barley ด้วยมีสาร Gluten บางคนแพ้สารนี้ทำให้ลำไส้เล็กพิการได้ กินอาหารที่ทำจากเม็ดข้าวพวกนี้ก็ท้องเสียได้ ถึงเห็นพวกฝรั่งก่อนกินอะไรที่มันดูแล้วแปลกตา มักจะเอานิ้วชี้ว่าอันนี้ทำด้วยอะไร เขาเป็นโรคอย่างนี้นา กินได้หรือเปล่า

นั่นเป็นอาหารที่สะอาด แต่เนื่องจากแปลกถิ่น แปลกอาหาร ไม่คุ้นกับเวลา ที่รับประทานอาหาร ก็อาจท้องเสีย ปั่นป่วนได้ โดยเฉพาะพวกที่เรียกว่า Irritable Bowel Syndrome หรือที่เขาเรียกว่า Nervous Stomach ยิ่งแล้วใหญ่

ความสกปรกของอาหาร หรือติดเชื้อโรคย่อมเป็นเรื่องสำคัญของท้องเสียระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ตัวการที่ทำให้เกิดโรคก็มี

1.     พิษจากเชื้อโรค Food Poisoning มักเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย พิษพวกนี้แม้ต้มสุกก็ยังไม่หมดฤทธิ์ ตอนนี้ได้ยินบ่อยก็คือเชื้อ E. Coli จากฟาร์มที่ไม่ค่อยควบคุมหรือใช้อุจจาระวัวเป็นปุ๋ย หลังสุดก็เกิดจาก ต้นหอม ก่อนหน้านั้นก็เป็นต้นสปินนิจ Spinach ตายไปก็หลายคนจากโรคไตพิการ

2.  เชื้อโรคแบคทีเรีย นี่แหละครับตัวสำคัญที่สุดที่ทำให้ท้องเสีย มีตั้งแต่ท้องเสียท้องธรรมดาจนถึงตายได้ เช่น โรคอหิวา Cholera โรคอัมพาตจาก พิษ Botulism โดยเชื้อโรค Clostridium botulinum (พิษตัวนี้เขาเอามาฉีดแก้รอยย่นบนใบหน้า โดยทำให้เส้นประสาทเล็ก ๆ น้อย ๆ แถบที่ฉีดยาอัมพาตไป เลยหน้าตึง เขาเรียกว่าฉีด Botox)

3.  เชื้อโรคไวรัส พวกนี้มักจะมีอาการหวัดหรือไข้หวัดใหญ่แล้วก็ตามมาด้วยท้องเสีย ไทยแบบฝรั่งอย่างผมเรียกว่า Intestinal Flu

4.  ตัวพยาธิ Parasites พวกนี้ตัวใหญ่กว่าเชื้อแบคทีเรียมาก แต่ก็ยังต้องส่องด้วยกล้องขยายอยู่ดี ที่สำคัญคือตัวบิด อุจจาระเป็นมูก Amoeba ตัวไอ้แว่น Giardia Lambia เพราะหน้าตาเหมือนสรวมแว่นมีหางด้วย ตัวนี้ทำให้ท้องเสีย กระปิดกระปอย ท้องอืดเป็นลมแน่นอยู่ตลอดเวลา ผายลมตลอดเวลา

5.  เชื้อรา พวก Cryptosporidium,Cyclesporiasis และอีกหลายตัว มักเกิดในคณะท่องเที่ยว อาจติดกันได้ง่าย เช่นในเรือท่องเที่ยว คณะทัวร์ที่อยู่ด้วยกันหลายวัน

6.  อีกโรคท้องเสียที่คนโดยมากจะคิดไม่ถึง คือแพ้อาหาร ที่สำคัญที่สุดคือ นม เนย ครีม อะไรที่เกิดจากผลิตพันธ์ของนม ในผู้ใหญ่โดยเฉพาะคนเอเชีย เราจะขาดน้ำย่อยนมที่เขาเรียกว่า Lactase ถ้าอาการน้อยก็แค่ผายลมนอกจากตัวเองรำคาญ คนข้าง ๆก็ยังทนกลิ่นไม่ไหว ถ้าอาการมากอาจเป็นอุจจาระเหลวออกมาตามผายลมก็ได้ ทางที่ดีถ้าแพ้พวกนี้เวลากินกาแฟก็อย่าใส่นมหรือครีมเลย และอย่ากินเนยแข็ง นอกนี้ก็มีพวกอาหารทะเล ถั่วบางชนิด เช่นถั่วเหลือง ไข่

7.  ยาที่สำคัญที่แพ้มากและท้องเสีย ก็คือเพนนิซิลลิน ยาอีกตัวไม่ใช่อาการแพ้  แต่กินสักสองสามครั้งก็ท้องเดินได้เช่น Tetracycline, Erythromycin พวกนี้หมอมักให้กินแก้สิว

                        

                                                                                                                                 อ่านต่อ ตอนที่ 2      

              

หมายเหตุ : ลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของบทความนี้ เป็นของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะนำบทความนี้ ไปเผยแพร่ สามารถติดต่อได้ที่ info@cualumni.us             

                                                       

                     ABOUT US  |  EVENTS  |  NEWS  |  ALUMNI BOARD  |  WEBBOARD  |  CONTACT US

                          Copyright 2006 Chulalongkorn University Alumni Association of California