สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ในเครือสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์

                                         ABOUT US  |  EVENTS  |  NEWS  |  ALUMNI BOARD  |  CONTACT US

 

         

                                คลองปานามา

                                   ตอนที่ 5                                                                   

                                                                                                    น.พ. สุวัฒน์ สุวรรณวานิช

              

อาการโรคของ มาลาเรีย Signs & Symptoms

อาการที่สำคัญอันเกิดจากมาเลเรีย จะมีการเว้นระยะเวลาสำหรับตัวพยาธิแทรกเข้าตัวบุคคล แล้วเข้าไปฟักตัวและแตกตัวเป็นจำนวนมาก ในเซลล์ตับของเรา ดังได้เล่าซ้ำมาแต่ฉบับก่อน

                         

ระยะเวลา การเกิดอาการ แล้วแต่ชนิดของมาลาเรีย เช่น Plasmodium falciparum อาจจะกินเวลา สองเดือน ส่วนชนิดอื่น ก็อาจกินเวลานานกว่านั้น เป็นปีก็ได้ เห็นหรือยัง หลังจากติดโรคจากต่างประเทศมาสองเดือนหรือนานกว่านั้นถึงจะแสดงอาการ อย่าลืมถ้ากลับจากเมืองไทย ลาวหรือ เขมรแล้วอยู่ ๆ ก็เกิดอาการดังข้างต้น ก็ต้องคิดถึงโรคนี้ไว้ก่อน

เมื่อตัวพยาธิน้อยมากพอก็แหกตัวออกจากเซลล์ของตับ แล้วตัวพยาธิ Parasites มากมายเหล่านี้ก็แทรกเข้าตัวเม็ดเลือดแดงทั่วตัว แต่ละตัวก็กินเม็ดเลือดแดง จากข้างในแล้วเม็ดแดงก็แตก ออกเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า Sequestration ตอนนี้แหละที่คนไข้จะมีอาการหนาวสั่น ปวดหัวอย่างมาก ไข้ขึ้นสูง เหงื่อออก นอกนี้จะมีอาการชัก คลื่นไส๋อาเจียน และไม่อยากอาหาร ท้องเดิน ปวดท้อง

ถ้าโรคเกิดระยะนานเข้าจะขาดเลือดแดง ผิวซีด ตัวเหลือง ตับและม้ามโต

การที่เม็ดเลือดแตก เศษส่วนของเม็ดเลือดแดงที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ  เรียกว่า Sequestration ซีเควสเตรชั่น จะกระจัดกระจายไปอุดท่อต่าง ๆ และท่อที่เกี่ยวข้องจากเส้นเลือดเล็ก ๆ Capillaries โดยเฉพาะ บวกกับการขาดเลือด Anemia ด้วย คนไข้อาจชัก ช๊อก สลบ ความดันตก ปอดบวม จนกระทั่งการหายใจล้มเหลว ส่วนไต อาจปัสสาวะเป็นสีดำ ทั้งปอดและไตอาจล้มเหลว บางรายอาจตายจากการก่อตัวของแผ่นเม็ดเลือด Platelets & ตัวก่อเกิดการเลือดเกาะกัน Fibrin เกาะกันกระจายไปทั่วตัว จนเลือดออกไปทั้งตัว เรียกว่า Disseminated intravascular coagulation (ลองดูซี่ว่าจะอ่านออกเสียงเองได้หรือเปล่า)

 การวิเคราะห์โรค Diagnosis

ก่อนอื่นก็ต้องถามอาการก่อน สถานที่ไปเยี่ยมเยียนมาโดยเฉพาะถิ่นที่เป็นโรคนี้แพร่หลาย Endemic area ไปเมื่อไหร่ แล้วกินยาป้องกันหรือเปล่า ปัสสาวะสีเหลือง ไข้ขึ้นเมื่อไหร่ กี่วันครั้ง อะไรจำพวกนี้แหละครับ การตรวจ ไข้ ความดัน สีผิวหนัง สีขาวของลูกตาว่าเหลืองหรือเปล่า ความดันตก ตับและม้ามโต สำคัญเคยเยี่ยวสีดำหรือเปล่า ดังที่กล่าวในอาการ

แน่นอนการตรวจเลือดเป็นการตรวจที่สำคัญที่สุด ดูว่าเป็นการขาดเม็ดเลือด มีอีตัวในเม็ดเลือดแดง และรูปร่างเป็นอย่างไร อันนี้แหละเป็นตัวชี้ที่สำคัญที่สุด และการแยกแยะว่าเป็นชนิดไหนกันแน่

ยาที่รักษา ก็ไม่พิสดารเท่าไหร่ แต่มีผลว่ารักษาแล้ว หายขาด หรือเป็น ๆ หาย ๆ หรือรุนแรงจนตายแน่ (มีคนชื่อนี้จริง ๆ ในสันติอโศกนะครับ จริง ๆ นะครับ มิได้พูดเล่น) ตายเพราะอวัยวะวายในระบบใดระบบหนึ่ง

ยาที่ได้ผลอันแรก ก็ต้อง Malarone สองเม็ด เช้าเย็น สามวันติด ๆ กัน

ถ้ารู้ว่าพยาธิมาลาเรียชนิดไหนก็มียาสำหรับตัวนั้น ๆ เช่น ตัว Plasmodium falciparum ก็อาจใช้ ควินินอย่างเก่า บวก Doxycycline กับ Fansidar อีกตัว ส่วน Plasmodium ovale or Plasmodium malariae ก็อาจใช้ ควินินบวก Primaquine แต่ทางที่ดี ควรให้หมอค้นคว้าและความชำนาญของเขาละ

มันเป็นปรากฎการณ์ของร่างกายมนุษย์ ที่สามารถปรับปรุงตัวเอง ทางด้านป้องกันและต่อต้านโรค เพื่อความอยู่รอด โดยการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของตัวเอง DNA Mutation ส่วนกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ก็แพ้หรือตายจากโรค เนื่องจากคนที่สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของตัวเอง ก็สามารถแพร่พันธุ์ขยายอาณาจักรของตัวหรือกลุ่มออกไปได้ หรืออาจไปสมสู่กับกลุ่มที่ไม่มี DNA ตัวใหม่ จนลูกหลานมี DNA ปนเข้าไปด้วย ก็เลยสามารถอยู่รอดได้ คงได้ยินประโยคของ ชาวร์ ดาวิน ว่า Survival of the fittest ถ้าปรับปรุงไม่ได้หรือสู้ไม่ได้ก็ตายเอง เห็นหรือยังการผสมพันธุ์กับตระกูลอื่น ถึงมีประโยชน์อย่างนี้แหละ

โรคที่สามารถป้องกัน มาลาเรีย ได้ ชนิดแรก ก็คือ Sickle cell disease นั่นคือโรคที่สามารถป้องกันการตายจากมาลาเรียได้ โดยกรรมพันธุ์ ทำให้เม็ดเลือดแดงในร่างกายเราผิดรูปผิดร่าง เม็ดเล็กลง มีรูปร่างเป็นรูปเคียว Sickle และมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยลง ด้วยเหตุนี้ ตัวพยาธิมาลาเรียก็ใช้เม็ดเลือดแดงไม่ได้ หรือไม่เหมาะ บุคคลพวกนี้ก็ไม่ตายจากมาลาเรีย โรคนี้มีอยู่มากในคน ผิวดำในอาฟริกา เพราะเป็นแหล่งเพาะเชื้อมาลาเรียอย่างดี การเปลี่ยนแปลงนี่ก็เป็นผลร้ายต่อบุคคลนั้นด้วย คือไม่สามารถใช้ประโยชน์ของเม็ดเลือดแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทนต่อความหนาว การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่มีอ๊ออกซีเจ่นน้อยไม่ได้ เช่นจะขึ้นภูเขาสูง ๆ ไม่ได้ การดำน้ำลึก ๆ ก็ไม่ได้ จะทำให้เม็ดเลือดแตกได้

อีกโรคหนึ่งคือ Thalasemia & Mediterranean disease เป็นกันกับคนเอเชียทางใต้ โดยเฉพาะแหล่งมียุงมาก เช่นไทย ลาว เขมร ญวน จีนตอนใต้ พม่า อินเดียตอนใต้ และขอบบนของอาฟริกาและรอบทะเลเมดิเตอเร  ก็เป็นโรค Thalasemia โรคนี้จะมีเม็ดเลือดแดงกลม ไม่ได้แบนแบบโดนัตในคนธรรมดา มีสีแดงในเม็ดเลือดน้อย ทรงแบบนี้ทางการตรวจเลือดเรียกว่า Microcytic hypochromic Anemia เพราะการผิดปรกติของ Hemoglobin ฮีโมโกลบิน (สีแดงในเม็ดเลือดแดง)

      

            กลับไปอ่านตอนที่ 4                                                    

              

 

หมายเหตุ : ลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของบทความนี้ เป็นของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะนำบทความนี้ ไปเผยแพร่ สามารถติดต่อได้ที่ info@cualumni.us             

                                                       

                                 ABOUT US  |  EVENTS  |  NEWS  |  ALUMNI BOARD  |  CONTACT US

                          Copyright 2011 Chulalongkorn University Alumni Association of California