สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย ในเครือสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์

                                         ABOUT US  |  EVENTS  |  NEWS  |  ALUMNI BOARD  |  CONTACT US

 

         

                                คลองปานามา

                                   ตอนที่ 1                                                                   

                                                                                                    น.พ. สุวัฒน์ สุวรรณวานิช

     

        ในปี 1887 พวกเศรษฐีทางยุโรปทั้งหลายซึ่งได้ซื้อหุ้นหรือซื้อสต๊อคไว้เพิ่งได้รับข่าวร้ายมาว่า บริษัทฝรั่งเศสซึ่งรับเหมาขุดคลองปานามาที่มีส่วนลงทุนไว้มาก ได้เลิกกิจการไปแล้ว เพราะขาดทุนย่อยยับทำต่อไปไม่ไหว.

โครงการนี้ท่านเศรษฐีทั้งหลายต่างหวังจะได้กำลังอย่างมหาศาลเหมือนครั้งที่ขุดคลองสุเอซที่อีจิปต์สำเร็จในปี 1869 ซึ่งต่อจากทะเลเมดิเตอเรเนียน ไปทะเลแดงเพื่อออกทางทะเลแดงแล้วออกไปสู่มหาสมุทรอินเดีย เพื่อไปสู่เอเชียทั้งหลาย เพื่อไปล่าเมืองขึ้น . ต่างก็ฝากความหวังไว้กับนายช่างชาวฝรั่งเศสชื่อนาย เฟอร์ดีนาน เดอ เลสเซปส์ Ferdinand de Lesseps

ครานั้นต่างก็ชื่นชมและบูชาต่อความเก่งกล้าสามารถของนายช่างคนนี้ มีการฉลองครั้งใหญ่ ณ เมืองสุเอซ เมืองที่คลองสุเอซผ่าน ถึงกับมีโอเปร่าที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่า ไออีด่า Aida ซื่งแต่งโดยนายเวอร์ดี Verdi ชาวอิตาเลียนแสดงครั้งแรกในงานเปิดใช้คลองครั้งแรก

        เมื่อตั้งโปรเจกต์ขุดคลอง ปานามา Panama ครั้งนี้ในปี 1882 บริษัทฝรั่งเศสก็ได้ระดมทุนมากมายเพื่อขุดคลองปานามาเป็นคลองที่จะต่อโยงระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับแอตแลนติค โดย แต่ครานี้มันมีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไขให้ได้. ปัญหาอันยิ่งใหญ่ที่สุด คือคนงานตายมาก โครงการนี้ดำเนินอยู่ไม่กี่ปีก็มีคนงานทั้งชาวอินเดียนแดง ชาวยุโรปต่างตายกันเป็นเบี้ย ถึง สองหมื่นสองพันคน จากโรคมาเลเรีย Malaria โรคไข้เหลือง Yellow Fever กาฬโรค โรคเดงเก้ Dengue (ไข้เลือกออก)  โรคไข้รากสาด Cholera และอุบัติเหตุทั้งหลาย แต่ที่ตายมากที่สุดคือจากมาเลเรีย ซึ่งหมอประจำก็ไม่รู้ว่ามาเลเรียหรือไข้เหลืองเกิดจากอะไร เลยไม่มีการป้องกัน ไม่มีที่พักอยู่อาศัยที่ถูกหลักอนามัยแก่คนงาน เวลาหน้าร้อนยุงบินมากันเป็นฝูงจากหญ้าคาในป่าข้าง ๆ และตามแหล่งน้ำ

ปัญหาอีกอันก็คือระดับน้ำในมหาสมุทรทั้งสองข้างไม่เท่ากัน  คือทางฝั่งแอตแลนติกสูงกว่าทางแปซิฟิกถึง 50 ฟุต แถมตรงกลางที่คลองนี่จะวิ่งผ่านก็มีทะเลสาปหลายแห่งซึ่งไม่ติดต่อกัน และสูงกว่าระดับทะเลถึง 81 ฟุต คือทะเลสาบบนภูเขา นายเดอเลสเซปคิดที่จะขุดให้มันเป็นคลองทะลุเลยระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรให้ได้ ภูเขาก็ต้องทะลายลงให้ราบ แล้วจะให้น้ำทะเลทางด้านแอตแลนติค ให้มันไหลไปทางมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมหาศาล

 สุดท้ายเงินหมดเพราะงานไม่ได้ไปถึงไหน มีการคอร์รัปชั่นกัน (ควรจะมาปรึกษา นายซาเล้งจากบุรีรัมย์ เพราะอยู่กระทรวงคมนาคม ขนาดเขาใหญ่ยังตัดป่าไม้ให้เรียบเพื่อสร้างถนนได้เลย มีอะไรที่นาย ซาเล้งจะทำไม่ได้บ้าง) การดำเนินงานผิดพลาด และเพราะคนตายมาก จากไข้มาเลเรีย และไข้เหลือง ชักจะหาคนมาทำงานยากขึ้นทุกทีและต้องจ่ายค่าทดแทนคนตายด้วยอย่างมหาศาล งานอันนี้เลยเลิกไปเฉย ๆ

เศรษฐีชาวฝรั่งเศสที่ร่วมลงทุนด้วยต่างก็หมดเนื้อประดาตัวไปตาม ๆ กัน เหมือนสต๊อกของเมืองไทยช่วงนายชวลิต ซึ่งบางธนาคารในเมืองไทย หุ้นหนึ่งขายแค่สตังค์แดงเดียว หมายังไม่ซื้อเลย

เมื่อฝรั่งเศสเจ๊งจากทางฝั่งอเมริกา ก็มาบีบให้รัฐบาลฝรั่งเศสไปหาแหล่งเงิน วิธีง่าย ก็คือ ตามหาเมืองขึ้น นั่นคือสมัยรัชกาลที่ห้า ก็คือราว ๆ ปี ค.ศ. 1870 มันมาปล้นมายึดเมืองเสียมเรียบ เมืองจันทร์ ระยอง เกาะกรูด เกาะกรง ประเทศลาว แถมต้องเสียทองคำไปมากมาย แล้วแถมมาตีเส้นเขตแดน ทำให้เราต้องมาทะเลาะกันกับเขมรจนถึงเดี๋ยวนี้

เมืองไทยภายใต้การบริหารของ นายอภิสิทธิ์ตอนนี้ เรียกว่าซวยเซี้ยวถึงที่สุด ซึ่งได้ปฏิญาณว่าจะปกครองด้วยกฎเหล็กเก้าข้อ ผมไม่อยากไปจำเพาะ ทั้งเก้าข้อที่มันพูดถึง ไม่ต่างจากการ ผายลม จากการกินลูกสะตอ ซึ่งนายสุเทพคอยยัดใส่ปากมันตลอดเวลา

ไม่เคยคิดว่านอกจากตัวนายอภิสิทธิ์ ซึ่งเหมือนควายที่ซื่อสัตย์(เพราะยึดถือคำเตือนของนายสุเทพว่า ไม่มีเขา ไม่มีเรา หรือ ไม่มีเขา กูไม่ใช่ควาย)  ด้วยมีเด็กเลี้ยงควายสองคนที่นั่งบนหลังมันชื่อว่า นายสุเทพ และนายห้อย ร้อยยี่สิบคอยควบคุมให้มันหันซ้ายหันขวา

เมืองไทยตอนนี้ ที่มีสถาบันจริง ๆ ที่พวกเราคนไทยยังคงเคารพ จงรักภักดีคือในหลวงของเราแล้ว มองไปทางไหนก็ไม่เห็นอะไรที่เราจะยึดถือได้เลย ทหารนั้น แม้กระทั่งแผ่นดินของตัวเองก็ยังป้องกันไม่ได้ และทำไม่เป็น เมื่อเจอทหารเขมรก็วิ่งตาตั้ง ถึงกับถูกชาวบ้านเขมรดูถูกว่าใส่บู๊ตเอาไว้ดูเท่ ๆ เท่านั้น และไว้วิ่งหนี่ทหารเขมรที่ใส่รองเท้าแตะ มันซวยจริง ๆ

ส่วนทางด้าน บริหาร และนิติบัญญัติ ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่า จะให้ทำอะไรก็ได้ เอาซองขาวมาให้ก็แล้วกัน แม้กระทั่ง สว. สี่สิบคน บางท่านยังยกมือให้เปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้เลย

การยกพื้นแผ่นดิน ถวายให้เขมร ก็เป็นที่เปรมปรีด์ของคณะรัฐมนตรี แล้วต่อไปก็ยกพื้นน้ำและใต้น้ำที่เต็มไปด้วยน้ำมันและก๊าซ มันก็เลยกลายเป็นการขัดแย้งของคนรักชาติกับรัฐบาล เมื่อถูกถามโดยนักข่าว ก็บอกว่าเป็นของเขาแล้ว ถ้าอยากรู้ให้ไปถาม นาย กษิต ภิรมย์ ซึ่งเป็นคนขายชาติที่เลวทรามชั่วชาติที่สุด  ที่คนจีนเรียกว่า เจ๋าเก๊า แปลว่าหมาสองหัว แถมนายอภิสิทธิ์ บอกว่าผมจะได้อะไรบ้าง ตอนนี้ก็ยังไม่ได้ผลประโยชน์อะไรเลย แต่ไม่ช้าไม่นานเราก็จะรู้เองว่า ผมจะได้อะไรบ้าง นายกกฎเหล็กเก้าข้อ จอมปลอม เจ็บปวดหัวใจของชาวไทยทุกคนที่ยังรักชาติ รักแผ่นดิน รักชนชาติไทยของเรา

          กลับมาเมืองอเมริกาดีกว่า ต่อเมื่อมาถึงรัฐบาลสมัยเพรสซีเด้นต์ เจมส์ โพก James Polk เกิดสงครามกับประเทศเม็กซิโก ชนะแบบขาดลอย ในปี 1848 เลย ยึดเอารัฐแคลิฟอร์เนีย อริโซน่า       นิวแมกซี่โก โคโลราโด้ ยูท่า ไวโอมิ่ง และเท๊กซัสมาจากประเทศเมกซี่โก (ซึ่งต่างจากนายกของเรา ที่เที่ยวยกดินแดนไปให้คนอื่น เลยแบบชาติ เคไนน์จริงๆ) และเผอิญเจอแหล่งขุดทองของแคลิฟอร์ เนีย ในปีต่อมา 1849 ผู้คนก็เลยหลั่งไหลมาทางตะวันตกมากมาย สินค้าที่จะขนมาขายให้ผู้คนในรัฐใหม่ก็นำไปมาลำบาก

โชคดีเกิดไปค้นพบแหล่งทองคำมากมายที่แถบ ซานฟรานซิสโก แล้วจะขนกลับไปขายทางตะวันออกชักเป็นปัญหา เพราะสมัยนั้นยังไม่มีรถไฟข้ามทวีป จำจะต้องใช้เรือขนกัน จากท่าเรือของซานฟรานซิสโกมาทางนิวยอร์ค ต้องลงไปสุดของทวีปอเมริกาใต้ ฝ่านทางช่องแคบมาเจลเล่น ซึ่งเป็นระยะทางไกลมากและช่องแคบนี่ก็อันตรายและหนาวมากด้วย

        วิธีใหม่คือให้เรือจากซานฟรานซิสโก เลยขอจอดแค่แถวคอคอดเมืองปานามาแล้วเอาของหรือทองคำขึ้นฝั่ง แล้วต่อด้วยทางบกโดยใช้เกวียนหรือรถลากผ่านทางช่องแคบต่อมาก็สร้างเป็นทางรถไฟผ่านทะลุปานามา แล้วมาลงอีกฝั่งทางแอตแลนติค เป็นที่ลำบากลำบนมาก โดยเฉพาะเวลาหน้าฝนซึ่งตกหนักมาก แถบจะเดินทางกันไม่ได้ แต่ก็ทุ่นระยะทางถึง 7600 ไมล์

 

                                                                                               อ่านต่อ ตอนที่ 2

 

หมายเหตุ : ลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของบทความนี้ เป็นของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว ท่านผู้อ่านที่สนใจจะนำบทความนี้ ไปเผยแพร่ สามารถติดต่อได้ที่ info@cualumni.us             

                                                       

                                 ABOUT US  |  EVENTS  |  NEWS  |  ALUMNI BOARD  |  CONTACT US

                          Copyright 2011 Chulalongkorn University Alumni Association of California